กิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567

วันที่ประกาศ 15 มีนาคม 2567

เปิดให้เข้าร่วม


กฟผ. โครงการห้องเรียนสีเขียวเชิญชวนเข้าร่วม

กิจกรรม การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567

โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 

วัตถุประสงค์

1.พัฒนาศักยภาพเยาวชน ในการสร้างนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

2.เพิ่มโอกาสการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้แก่เยาวชนทั่วประเทศ

3.สร้างภาคีเครือข่ายและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4.สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

หัวข้อ : นวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แบ่งตามประเภท ดังนี้ 

1.นวัตกรรมด้านพลังงาน (พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

2.นวัตกรรมด้านการจัดการของเสีย (ขยะ น้ำเสีย ฯลฯ)

3.นวัตกรรมด้านการเกษตร (สมาร์ทฟาร์ม ชีววิถี ต้นไม้ ฯลฯ)


การรับสมัคร 

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 15 มิถุนายน 2567 มีรายละเอียดดังนี้

1.สมาชิกทุกคนในทีมต้องสมัครสมาชิก website https://gls.egat.co.th/register และ

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน https://gls.egat.co.th/activities/400

*** หมายเหตุ : ผู้เป็นสมาชิกของ website เท่านั้นถึงจะลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้


2.หัวหน้าทีมต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการสมัครกิจกรรมและ Upload เอกสารข้อเสนอโครงการ ผ่าน link https://1th.me/HALvE

*** หมายเหตุ : เอกสารข้อเสนอโครงการ สามารถดาวน์โหลดได้ด้านล่าง


คุณสมบัติผู้สมัคร

1.ปัจจุบันเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 จากโรงเรียนทั่วประเทศ

2.จำนวนสมาชิกในทีม จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 3 คน และครูที่ปรึกษา จำนวน 2 คน

(นักเรียนสามารถมีรายชื่อได้ 1 ทีมเท่านั้น ไม่สามารถมีรายชื่อซ้ำที่ทีมอื่นได้) 

 

เกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก (รายละเอียดสามารถดาวน์โหลดได้ด้านล่าง)

พิจารณาผลงานนวัตกรรมจาก

1.ความสำคัญและที่มาของนวัตกรรม (5 คะแนน)

2.วัตถุประสงค์ของการสร้างนวัตกรรม (5 คะแนน)

3.แผนการดำเนินงาน การออกแบบ วิธีการใช้งานนวัตกรรม และงบประมาณที่ใช้พัฒนานวัตกรรม (15 คะแนน)

4.Video Clip ความยาวไม่เกิน 3 นาที (5 คะแนน)

5.ข้อดีของนวัตกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคหรือวิธีการที่มีอยู่ก่อนหน้า (10 คะแนน)

6.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (kgCO2) ของนวัตกรรม (20 คะแนน)

7.ผลการเปรียบเทียบเชิงปริมาณของนวัตกรรม แยกตามประเภทที่ส่งเข้าประกวด (15 คะแนน)

8.ประโยชน์การใช้งานนวัตกรรมและความเป็นไปได้ (10 คะแนน)

9.แผนการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ (10 คะแนน)

10.เอกสารอ้างอิง (5 คะแนน)

 

ประกาศผลการรอบคัดเลือก วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 จำนวน 30 ทีม ผ่าน Website : https://gls.egat.co.th/activities

• นวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ทีม 

• นวัตกรรมด้านการจัดการของเสีย จำนวน 10 ทีม

• นวัตกรรมด้านการเกษตร จำนวน 10 ทีม

 

** สำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมกิจกรรมในรอบต่อไป ดังนี้ 

• คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำ เพื่อพัฒนานวัตกรรม ในวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2567 (Online)

• กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำเทคนิควิธีการนำเสนอผลงาน รอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 (Online)

• ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกจำนวน 30 ทีม จะได้รับทุนพัฒนานวัตกรรม ทีมละ 5,000 บาท


รอบชิงชนะเลิศ

วันที่ 17-20 กันยายน 2567 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

 

รางวัลการประกวด 

ประเภทนวัตกรรมด้านพลังงาน

1.รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา จำนวน 50,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา จำนวน 10,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

4.รางวัลชนะเลิศการประกวดด้านความคิดสร้างสรรค์ ทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

5.รางวัลชมเชยระดับประเทศ และใบประกาศเกียรติคุณ


ประเภทนวัตกรรมด้านการจัดการของเสีย

1.รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา จำนวน 50,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา จำนวน 10,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

4.รางวัลชนะเลิศการประกวดด้านความคิดสร้างสรรค์ ทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

5.รางวัลชมเชยระดับประเทศ และใบประกาศเกียรติคุณ

 

ประเภทนวัตกรรมด้านการเกษตร

1.รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา จำนวน 50,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา จำนวน 10,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

4.รางวัลชนะเลิศการประกวดด้านความคิดสร้างสรรค์ ทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

5.รางวัลชมเชยระดับประเทศ และใบประกาศเกียรติคุณ

 

ทีมที่ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศ มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

6.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8.มหาวิทยาลัยมหิดล

9.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

1.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

4.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

5.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

6.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

9.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

12.ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

13.ผู้เชี่ยวชาญจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

icon

เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน การประกวดนวัตกรรมด_1710473345.pdf

icon

เอกสารข้อเสนอโครงการ การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม_1711681434.docx

icon

เอกสารข้อเสนอโครงการ การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม_1711681439.pdf

อันดับคะแนน