⚡ Grid Modernization ระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ สร้างความมั่นคงพลังงาน

วันที่ประกาศ 22 พฤศจิกายน 2567

⚡ Grid Modernization ระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ สร้างความมั่นคงพลังงาน



🌐 อนาคตประเทศไทยจะมีไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 กฟผ.จึงได้พัฒนาระบบไฟฟ้าให้พร้อมรองรับความผันผวนของพลังงานหมุนเวียน (Grid Modernization ) โดยนำระบบกักเก็บพลังงานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคง ราคาเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


🔋 ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS) : กักเก็บพลังงานส่วนเกินจากระบบไฟฟ้า นำมาใช้ในช่วงเวลาที่พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้

🔹 โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-storage) : นำพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบผลิตมาสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำที่อยู่ด้านบน

และปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าในเวลาที่ต้องการ

🔹 แบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) : นำพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบผลิตมาเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่ และจ่ายพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง


💻 เทคโนโลยี ช่วยบริหารจัดการพลังงาน

🔸 ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

🔸 ศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) ควบคุมการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak)


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ https://www.egat.co.th/home/20240924-art02/