การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566

วันที่ประกาศ 7 กันยายน 2566

หมดเขตเข้าร่วม

กฟผ. โครงการห้องเรียนสีเขียวเชิญชวนเข้าร่วม

กิจกรรม การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566

โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 

วัตถุประสงค์

1.พัฒนาศักยภาพเยาวชน ในการสร้างนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

2.เพิ่มโอกาสการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้แก่เยาวชนทั่วประเทศ

3.สร้างภาคีเครือข่ายและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4.สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

หัวข้อ : นวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แบ่งตามประเภท ดังนี้

1.ประเภทนวัตกรรมด้านพลังงาน (พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

2.ประเภทนวัตกรรมด้านการจัดการของเสีย (ขยะ น้ำเสีย ฯลฯ)

3.ประเภทนวัตกรรมด้านการเกษตร (ชีววิถี ต้นไม้ ฯลฯ)


การรับสมัคร

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2566 โดยผู้เสนอผลงานเข้าประกวดต้องยื่นเรื่องเสนอผ่านโรงเรียนต้นสังกัด โดยให้โรงเรียนต้นสังกัดเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่เสนอเข้าประกวด โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.สมาชิกทุกคนในทีมต้องลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน Website : https://gls.egat.co.th/activities/307 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม

*** หมายเหตุ : ผู้เป็นสมาชิกของ website เท่านั้นถึงจะกด join กิจกรรมได้




2.หัวหน้าทีมต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการสมัครกิจกรรมและ Upload แบบฟอร์มการสมัครกิจกรรม พร้อม Proposal (เอกสารประกอบการตัดสิน) ผ่าน link https://shorturl.at/brzH1




คุณสมบัติผู้สมัคร

1.ปัจจุบันเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนทั่วประเทศ

2.ทีมจะต้องมีสมาชิกไม่เกิน 5 คน แบ่งเป็นนักเรียนทีมละ 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาทีมละไม่เกิน 2 คน

(นักเรียนสามารถมีรายชื่อได้ 1 ทีมเท่านั้น ไม่สามารถมีรายชื่อซ้ำที่ทีมอื่นได้)

3.โรงเรียนสามารถส่งทีมเข้าประกวดได้ไม่เกิน 6 ทีม

 

การพิจารณารอบแรก

พิจารณาผลงานนวัตกรรมจาก

1. แบบฟอร์มการสมัครกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 (เอกสารแนบ)

2. Proposal ที่ต้องมีหัวข้อต่อไปนี้

•  ความสำคัญและที่มาของนวัตกรรม

•  วัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรม

•  ขอบเขตของการพัฒนานวัตกรรม

•  และประโยชน์การใช้งานและการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ เอกสารอ้างอิง

 

ประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 จำนวน 30 ทีม ผ่าน Website : https://gls.egat.co.th/activities/

•   นวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ทีม

•   นวัตกรรมด้านการจัดการของเสีย จำนวน 10 ทีม

•   นวัตกรรมด้านการเกษตร จำนวน 10 ทีม

 

** สำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้ร่วมกิจกรรมในรอบต่อไป ดังนี้

•   กรรมการให้คำแนะนำ เพื่อพัฒนานวัตกรรม ในวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2566 (Online)

•   ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกจำนวน 30 ทีม จะได้รับเงินทีมละ 5,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวด

 

รอบตัดสิน รอบชิงชนะเลิศ

การตัดสิน การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 4 วัน 3 คืน วันที่ 5 – 8 กันยายน 2566 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

 

รางวัลการประกวด

ประเภทนวัตกรรมด้านพลังงาน

1.รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

4.รางวัลชนะเลิศการประกวดด้านความคิดสร้างสรรค์ เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

5.รางวัลชมเชยระดับประเทศ (ต้องมีคะแนนรวมในรอบตัดสินมากกว่า 90 คะแนนขึ้นไป) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

6.รางวัลชมเชย (มีคะแนนรวมในรอบตัดสินน้อยกว่า 90 คะแนน) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

 

ประเภทนวัตกรรมด้านการจัดการของเสีย

1.รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

4.รางวัลชนะเลิศการประกวดด้านความคิดสร้างสรรค์ เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

5.รางวัลชมเชยระดับประเทศ (ต้องมีคะแนนรวมในรอบตัดสินมากกว่า 90 คะแนนขึ้นไป) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

6.รางวัลชมเชย (มีคะแนนรวมในรอบตัดสินน้อยกว่า 90 คะแนน) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

 

ประเภทนวัตกรรมด้านการเกษตร

1.รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

4.รางวัลชนะเลิศการประกวดด้านความคิดสร้างสรรค์ เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

5.รางวัลชมเชยระดับประเทศ (ต้องมีคะแนนรวมในรอบตัดสินมากกว่า 90 คะแนนขึ้นไป) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

6.รางวัลชมเชย (มีคะแนนรวมในรอบตัดสินน้อยกว่า 90 คะแนน) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

 

ทีมที่ชนะการประกวดมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

6.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8.มหาวิทยาลัยมหิดล

9.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


กรรมการตัดสิน

1.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

4.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

5.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

6.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

9.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

12.ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

13.ผู้เชี่ยวชาญจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ผู้ประสานงาน คุณอาทิตย์ นาคสวัสดิ์ โทร.081-737-7409 

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

icon

แบบฟอร์มสมัครและแนวทางการพิจารณาและเกณฑ์การตัดสิน การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2566_1686197347.pdf

icon

แบบฟอร์มสมัครและแนวทางการพิจารณาและเกณฑ์การตัดสิน การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2566_1686197351.doc

อันดับคะแนน